5. ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ Theory of Cooperative or Collaborative Learning (ทิศนา แขมมณี.2554:98-102)

ก.       ทฤษฎีการเรียนรู้
คือ การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ 3 – 6 คน
ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม นักการศึกษาคนสำคัญที่เผยแพร่แนวคิดของการเรียนรู้แบบนี้คือ สลาวิน ( Slavin ) เดวิด จอห์นสัน ( David Johnson) และรอเจอร์ จอห์นสัน ( Roger Johnson ) เขากล่าวว่า ในการจัดการเรียนการสอนโดยทั่วไป เรามักจะไม่ให้ความสนใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียน ความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนเป็นมิติที่มักถูกละเลยหรือมองข้ามไปทั้ง ๆ ที่มีผลการวิจัยชี้ชัดเจนว่า ความรู้สึกของผู้เรียนต่อตนเอง ต่อโรงเรียน ครูและเพื่อนร่วมชั้น มีผลต่อการเรียนมาก จอห์นสัน และจอห์นสัน           ( Johnson and Johnson , 1994 : 31 – 32 ) กล่าวว่า ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนมี 3 ลักษณะคือ
1.       ลักษณะแข่งขันกัน
2.       ลักษณะต่างคนต่างเรียน
3.       ลักษณะร่วมมือกัน หรือ ช่วยกันในการเรียนรู้
องค์ประกอบของการเรียนรู้แบบร่วมมือ
1.       การพึ่งพาและเกื้อกูลกัน ( positive interdependence )
2.       การปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด ( face-to-face promotive interaction )
3.       ความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ของสมาชิกแต่ละคน ( individual accountability )
4.       การใช้ทักษะการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและทักษะการทำงานกลุ่มย่อย ( interpersonal
 and small-group skills )
5.       การวิเคราะห์กระบวนการกลุ่ม ( group processing )

ผลดีของการเรียนรู้แบบร่วมมือ
1.       มีความพยายามจะบรรลุเป้าหมายมากขึ้น
2.       มีความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนดีขึ้น
3.       มีสุขภาพจิตดีขึ้น
ประเภทของการเรียนรู้แบบร่วมมือ
1.       กลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมืออย่างเป็นทางการ ( formal cooperative learning groups )
2.       กลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมืออย่างไม่เป็นทางการ( informal cooperative learning groups )
3.       กลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมืออย่างถาวร( cooperative base groups )
ข.      การประยุกต์ใช้ทฤษฎีในการเรียนการสอน
1.       ด้านการวางแผนการจัดการเรียนการสอน
1.1    กำหนดจุดมุ่งหมายของบทเรียนทั้งทางด้านความรู้และทักษะกระบวนการต่าง ๆ
1.2    กำหนดขนาดของกลุ่ม กลุ่มควรมีขนาดเล็กประมาณ 3 – 6 คน กลุ่มขนาด 4 คนจะเป็น
ขนาดที่เหมาะสมที่สุด
1.3    กำหนดองค์ประกอบของกลุ่ม โดนทั่วไปกลุ่มจะต้องประกอบไปด้วยสมาชิกที่คละกัน
ในด้านต่าง ๆ เช่น เพศ ความสามารถ ความถนัด เป็นต้น
1.4    กำหนดบทบาทของสมาชิกแต่ละตนในกลุ่ม
1.5    จัดสถานที่ให้เหมาะสมในการทำงานและการมีปฏิสัมพันธ์กัน
1.6    จัดสาระ วัสดุ หรืองานที่จะให้ผู้เรียนทำ วิเคราะห์สาระ/งาน/หรือวัสดุที่จะให้ผู้เรียนได้
เรียนรู้
2.       ด้านการสอน
ครูควรมีการเตรียมกลุ่มเพื่อการเรียนรู้ร่วมกัน ดังนี้
2.1    อธิบายชี้แจงเกี่ยวกับงานของกลุ่ม
2.2    อธิบายเกณฑ์การประเมินผลงาน
2.3    อธิบายถึงความสำคัญและวิธีการของการพึ่งพาและเกื้อกูลกัน
2.4    อธิบายวิธีการช่วยเหลือกันระหว่างกลุ่ม
2.5    อธิบายถึงความสำคัญและวิธีการในการตรวจสอบความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่แต่ละ
คนได้รับมอบหมาย
2.6    ชี้แจงพฤติกรรมที่คาดหวัง
3.       ด้านการควบคุมกำกับและช่วยเหลือกลุ่ม
3.1    ดูแลให้สมาชิกกลุ่มมีการปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด
3.2    สังเกตการณ์การทำงานร่วมกันของกลุ่ม
3.3    เข้าไปช่วยเหลือกลุ่มตามความเหมาะสม
3.4    สรุปการเรียนรู้
4.       ด้านการประเมินผลและวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้
4.1    ประเมินผลการเรียน ครูประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนทั้งทางด้านปริมาณและ
คุณภาพ
4.2    วิเคราะห์กระบวนการทำงานและกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน การเรียนรู้แบบร่วมมือทั้ง
6 รูปแบบดังกล่าวมีคุณสมบัติสำคัญตรงกัน 5 ประการ คือ ทุกรูปแบบต่างก็มีกระบวนการเรียนรู้ที่พึ่งพาและเกื้อกูลกัน สมาชิกกลุ่มมีการปรึกษาหารือและปฏิสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด สมาชิกทุกคนมีบทบาทหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ และสามารถตรวจสอบได้ สมาชิกกลุ่มต้องใช้ทักษะการทำงานกลุ่มและการสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในการทำงานหรือการเรียนรู้ร่วมกัน รวมทั้งมีการวิเคราะห์กระบวนการทำงานของกลุ่มเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพของการทำงานร่วมกัน

  เอกสารอ้างอิง    ทิศนา  แขมมณี. 2554. ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย